มารู้จักกับ 10 ประเภทภาษีนี้กันดีกว่า
หลักการทำความรู้จักภาษีแบบง่ายๆ
ที่พรี่หนอมอยากจะแนะนำ คือ
1. ภาษีนั้น คืออะไร เก็บแบบไหน? จากใคร?
2. ภาษีนั้น มีวิธีคำนวณยังไง?
3. ภาษีนั้น มีอัตราภาษีเท่าไรบ้าง?
4. ภาษีนั้น เสียที่ไหน? จะได้ไปถามถูกคน
ประเภทของภาษีธุรกิจที่ควรรู้จัก
1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
คือ ภาษีที่จัดเก็บจากรายได้(เงินได้)ของบุคคลธรรมดาที่เกิดขึ้นระหว่างปี
วิธีคำนวณภาษี = เงินได้สุทธิที่ได้รับระหว่างปี x อัตราภาษี
อัตราภาษี 5-35%
ชำระที่ กรมสรรพากร
2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
คือ ภาษีที่จัดเก็บจากรายได้(เงินได้)ของนิติบุคคลที่เกิดขึ้นระหว่างปี
วิธีคำนวณภาษี = กำไรสุทธิ x อัตราภาษี
อัตราภาษี 20% หรือต่ำกว่ากรณีที่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก
ชำระที่ กรมสรรพากร
3. ภาษีมุลค่าเพิ่ม
คือ ภาษีที่จัดเก็บจากการบริโภคสินค้าและบริการในประเทศ เช่น การซื้อสินค้า
วิธีคำนวณภาษี = ราคาสินค้าหรือบริการ x อัตราภาษี
อัตราภาษี 7%
ชำระที่ กรมสรรพากร
4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
คือ ภาษีที่จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่าง เช่น ธนาคาร โรงรับจำนำ ฯลฯ
วิธีคำนวณภาษี = รายได้ที่ได้รับ x อัตราภาษี
อัตราภาษี ยกเว้น – 3% (มีภาษีบำรุงท้องที่อีก 10 %)
ชำระที่ กรมสรรพากร
5. อากรแสตมป์
คือ จัดเก็บจากการกระทำตราสาร (สัญญา) มีทั้งหมด 28 ลักษณะ
วิธีคำนวณภาษีและอัตราภาษี ขึ้นอยู่กับประเภทของตราสาร (สัญญา)
ชำระที่ กรมสรรพากร
6. ภาษีศุลกากร
คือ เป็นกำแพงภาษีประเภทหนึ่ง
วิธีคำนวณภาษีและอัตราภาษี ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าที่นำเข้า
ชำระที่ กรมศุลกากร
7. ภาษีสรรพสามิต
คือ ภาษีการขายเฉพาะที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท ซึ่งรัฐมองว่าควรจ่ายมากกว่าปกติ
วิธีคำนวณภาษีและอัตราภาษี ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าที่นำเข้า
ชำระที่ กรมสรรพสามิต
8. ภาษีโรงเรือน
คือ ภาษีที่จัดเก็บจากการโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ติดกับที่ดิน ที่มีไว้เพื่อสร้างรายได้จากที่ดินนั้น เช่น ให้เช่า
วิธีคำนวณภาษี = ค่ารายปีของสินทรัพย์ x อัตราภาษี
อัตราภาษี 12.5%
ชำระที่ หน่วยงานส่วนท้องถิ่น
9. ภาษีบำรุงท้องที่
คือ ภาษีที่จัดเก็บจากที่ดินเพื่อปลูกบ้านอยู่อาศัย ทำการเกษตร และที่ดินว่างเปล่า
วิธีคำนวณภาษี = ราคาประเมิณที่ดิน
อัตราภาษี ขึ้นอยู่กับประเภทของที่ดิน
ชำระที่ หน่วยงานส่วนท้องถิ่น
10. ภาษีป้าย
คือ ภาษีที่จัดเก็บจากการแสดงป้ายชื่อ ยี่ห้อหรือโลโก้บนวัตถุใดๆ ด้วยตัวอักษร
วิธีคำนวณภาษี = เนื้อที่ของป้ายและประเภทของป้ายรวมกัน
อัตราภาษี 3-40 บาท/ตร.ซม.
ชำระที่ หน่วนงานส่วนท้องถิ่น